ต่อใบขับขี่ยุคโควิด-19 สะดวกหรือยุ่งยาก ความคิดที่แตกต่างของคน 2 Gen

ประกัน รถ

เมื่อโควิด-19 ยังไม่หนีหายไปไหน วิถี New Normal ที่เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ต้นปี 2020 ก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปจนหลาย ๆ คนคงเริ่มที่จะคุ้นเคย เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันแทบจะ 100 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมต่าง ๆ ถูกยกขึ้นมาดำเนินการบนโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่เว้นแม่แต่กิจกรรมด้านการยานพาหนะ อย่างการต่อประกัน รถ ต่อภาษีรถ หรือแม้แต่การต่อใบอนุญาตขับขี่ที่ปกติผู้ใช้รถทุกประเภทต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบสมรรถภาพของร่างกายต่อหน้าเจ้าพนักงาน ก็ถูกเปลี่ยนรูปแบบไปตามสถานการณ์ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และวันนี้เราจะมาบอกเล่าขั้นตอนการต่อใบขับขี่ในยุคโควิด-19 ที่สะดวกสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่สร้างความลำบากสำหรับคนรุ่นเก่าอยู่ไม่น้อย

ขั้นตอนการต่ออายุใบขับขี่ (อัปเดตล่าสุด ปี พ.ศ. 2564)

1. เข้าไปจองคิวต่อใบขับขี่ได้ทางช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์ gecc.dlt.go.th เลือกรายการต่ออายุใบขับขี่ที่มีผลผ่านการอบรมออนไลน์

2. เข้ารับการอบรมการต่อใบขับขี่แบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://www.dlt-elearning.com/Home ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ เริ่มการอบรม

3. เมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อย ให้แคปเจอร์หน้าจอมือถือที่มีข้อความแจ้งว่าคุณได้ผ่านการอบรมแล้วเก็บไว้ใช้แสดงวันเข้ามาต่อใบขับขี่ที่กรมการขนส่งทางบก โดยใบผลการอบรมออนไลน์นั้นจะมีอายุเพียง 90 วัน นับจากวันที่อบรม หากคุณนำเอกสารไปยื่นต่อใบขับขี่หลัง 90 วัน ต้องเข้ารับการอบรมใหม่อีกครั้ง

4. เตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งประกอบด้วย

– บัตรนัดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (ที่ได้ดำเนินการจองคิวไว้ในข้อ 1)

– บัตรประชาชน

– ใบอนุญาตขับขี่ (เดิม)

– ภาพแสดงผลการอบรมใบขับขี่ออนไลน์ (ที่ได้แคปเจอร์ไว้ในข้อ 3)

– ใบรับรองแพทย์ (กรมการขนส่งทางบกเพิ่มประกาศให้เพิ่มเอกสารนี้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป โดยบังคับใช้กับผู้ต่อใบขับขี่ทุกประเภท ทั้งที่ทำใหม่และต่ออายุ เอกสารการอบรมใบขับขี่ออนไลน์)

5. ไปตามวันเวลาที่ได้จองคิวออนไลน์ไว้ ผ่านจุดคัดกรอง ยื่นเอกสารที่เตรียมมาให้กับเจ้าหน้าที่ เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ได้แก่ ทดสอบภาวะตาบอดสี ทดสอบมุมมองสายตา (กว้าง – ลึก) ทดสอบสมรรถนะในการเหยียบคันเร่งและเบรก

6. เมื่อผ่านการทดสอบครบทุกขั้นตอน เข้ารับการถ่ายรูปลงใบขับขี่ และจ่ายค่าธรรมเนียม โดยอัตราค่าธรรมเนียมแตกต่างกันตามประเภทรถ ดังนี้

– สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ค่าธรรมเนียม เป็นเงิน 505 บาท

– สำหรับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ค่าธรรมเนียม เป็นเงิน 255 บาท

สะดวกหรือลำบาก มุมมองการต่อใบขับขี่ของคน 2 Gen

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่ใช้เทคโนโลยีอยู่เป็นประจำ เป็นคนรุ่นใหม่ที่ตอบรับวิถีชีวิตแบบ New Normal ได้เป็นอย่างดีในทุกแง่มุม การดำเนินชีวิตบนวิถีออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการต่อประกัน รถ ต่อภาษี และการต่อใบขับขี่ ดูจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการใช้รถของคุณมากพอสมควรเลยทีเดียว แต่หากคุณเป็นคนรุ่นเก่าที่แทบจะไม่ได้พบเจอเทคโนโลยีเลยในกิจวัตรประจำวัน เพียงแค่ขั้นตอนแรกที่ต้องเข้ามาจองคิวผ่านระบบออนไลน์ ก็ดูเป็นเรื่องที่ยากกว่าสิ่งอื่นใดที่เคยทำมาทั้งสิ้น นี่ยังไม่รวมขั้นตอนการกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนเข้าอบรม การแคปเจอร์หน้าจอมือถือ เพื่อนำมาเป็นหลักฐานยืนยัน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวัยที่ร่างกายไม่ได้พร้อมรับสิ่งต่าง ๆ เฉกเช่นสมัยหนุ่มสาว สิ่งนี้เลยดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก จนทำให้หลาย ๆ คนถอดใจ และเลือกที่จะไม่ต่อใบขับขี่ในท้ายที่สุด

เห็นไหมว่าในทุก ๆ เรื่องราว มักมีอีกมุมที่ตรงกันข้ามอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่ไม่ได้สะดวกสำหรับทุกคนเสมอไป โดยในระหว่างนี้ ลูก ๆ หลาน ๆ ควรเข้ามาช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ถ้าการสอนให้ใช้เทคโนโลยีดูจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป การหันมาช่วยทำให้และพาไปน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ต่อใบขับขี่เสร็จแล้ว อย่าลืมตรวจดูว่าประกัน รถที่มีว่าใกล้หมดอายุหรือยัง ถ้าใกล้หมดหรือขาดไปนานแล้ว ก็ช่วยดูแลต่อให้ท่านด้วย มอบความคุ้มครองที่ให้คุณพ่อคุณแม่ขับขี่รถได้อย่างสบายใจไร้กังวล